เมนู

กถาว่าด้วยผู้รับของฝาก


ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก เพราะอรรถว่า รักษาทรัพย์ที่เขานำมา
ฝากไว้. ภิกษุรูปใด อันชนอื่น กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ! ช่วยดูแลทรัพย์นี้
สักครู่ จนกว่ากระผมจะทำกิจชื่อนี้ แล้วกลับมา ได้รักษาทรัพย์ที่เขานำมา
ในสถานที่อยู่ของตนไว้, คำว่า โอณิรกฺโข นั่น เป็นชื่อของภิกษุผู้รับของ
ฝากนั้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ที่ชื่อว่า
ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้
ดังนี้.
ในเรือนนั้น ภิกษุผู้รับของฝาก ไม่ได้แก้ห่อสิ่งของที่เจ้าของเขาผูก
มัดตราสินออกเลย โดยส่วนมาก ตัดแต่กระสอบหรือห่อข้างล่างออกแล้ว
ถือเอาแต่เพียงเล็กน้อย ทำการเย็บเป็นต้น ให้เป็นปกติเดิมอีก สำหรับภิกษุ
ผู้คิดว่า เราจักถือเอาด้วยอาการอย่างนั้น แล้วทำการจับต้องเป็นต้น พึงทราบว่า
เป็นอาบัติตามสมควร ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยภิกษุผู้รับของฝาก

กถาว่าด้วยการชักชวนกันลัก


การชักชวนกันลัก ชื่อว่า สังวิธาวหาร. มีคำอธิบายว่า การลักที่ทำ
ด้วยความสมรู้ร่วมคิดกะกันและกัน.
บทว่า สํวิทหิตฺวา มีความว่า ปรึกษาหารือกัน ด้วยความเป็นผู้
ร่วมฉันทะกัน คือ ด้วยความเป็นผู้ร่วมอัธยาศัยกัน.

[

ภิกษุหลายรูปชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติหมดทุกรูป

]
วินิจฉัยในสังวิธาวหารนั้น ดังนี้ ภิกษุหลายรูปด้วยกัน ชักชวนกันว่า
พวกเราจักไปเรือน ชื่อโน้น จักทำลายหลังคา หรือฝา หรือจักตัดที่ต่อลัก
ของ. ในภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่งลักของได้, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด ใน
ขณะยกภัณฑะนั้นขึ้น. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์ปริวาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ตรัสคำนี้ว่า
4 คน ได้ชวนกันลักครุภัณฑ์ 3 คน
เป็นปาราชิก คนหนึ่งไม่เป็นปาราชิก
ปัญหานี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว*.

เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบดังนี้ 4 คน คือ อาจารย์กับอันเตวาสิก
เป็นผู้ใคร่จะลักครุภัณฑ์ ราคา 6 มาสก. ใน 4 คนนั้นอาจารย์สั่งว่า คุณจง
ลัก 1 มาสก คุณจงลัก 1 มาสก คุณจงลัก 1 มาสก ฉันจักลัก 3 มาสก.
ฝ่ายบรรดาอันเตวาสิกทั้งหลาย อันเตวาสิกรูปหนึ่ง กล่าวว่า ใต้เท้าจงลัก 3
มาสก นะขอรับ ! คุณจงลัก 1 มาสก คุณจงลัก 1 มาสก ผมจักลัก 1 มาสก
แม้อันเตวาสิก 2 รูปนอกจากนี้ ก็ได้กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. บรรดาชน
//* วิ. ปริวาร. 8/530.